รู้จัก Micro-Cheating เล็กน้อยแบบไหนที่นับว่านอกใจ
Table of Contents
Toggleเพราะปัจจุบันนี้ “การนอกใจ” ไม่ได้มาในรูปแบบที่เห็นได้ชัดเจนเหมือนที่ผ่านมา แต่มาในรูปแบบที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ส่งผลใหญ่โตต่อความรู้สึกและความสัมพันธ์ เรียกว่า Micro-Cheating แล้วเล็กน้อยแบบไหนที่นับว่าเป็นการนอกใจ ? แม่สื่อ บริษัทจัดหาคู่เดทระดับไฮเอนด์ Bangkok Matching จะพาทุกคนไปค้นหาคำตอบเกี่ยวกับ Micro-Cheating แบบรอบด้านพร้อมกันค่ะ
-
Micro-Cheating เรื่องเล็กแค่ไหน…แต่เรื่องใหญ่ในความรู้สึก
สำหรับการนอกใจแบบ Micro Cheating เป็นคำจำกัดความของพฤติกรรมนอกใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่กลับเป็นรอยร้าวสะสมในความสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบใหญ่ต่อความรู้สึกเป็นอย่างมาก เมื่อเส้นแบ่งระหว่าง “เพื่อน” และ “การนอกใจ” ทับซ้อนกันจนแยกไม่ออก จนทำให้ Micro Cheating กลายมาเป็นประเด็นถกเถียงสุดฮ็อตที่ทำเอาโลกออนไลน์เสียงแตก
สำหรับประเด็นนี้นักบำบัดคู่แต่งงานและครอบครัวอย่างคุณ Claudia de Llano ได้ให้ความคิดเห็นเอาไว้ว่า การที่เราแสดงออกถึงความใส่ใจกับคนอื่นไม่ว่าจะทางความรู้สึก ความสนใจ ความเป็นห่วงเป็นใย หรือการแสดงความใกล้ชิดมากเกินไปทางกายภาพ แม้จะบอกว่าไม่ได้คิดอะไรเกินเลย แต่สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะผลักให้เราก้าวออกนอกขอบเขต และยังถือเป็นการมองหาสิ่งอื่นนอกความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้ว แม่สื่อมองว่าจัดเป็นการนอกใจรูปแบบหนึ่งค่ะ
-
ทำไม Micro-Cheating ถึงเกิดบ่อยในปัจจุบัน ?
เพราะปัจจุบันนี้คนเราสามารถพบเจอ เชื่อมต่อ ติดต่อกันได้ง่าย ๆ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ขอบเขตของการนอกใจจึงขยายกว้างกว่าเดิมเยอะ และละเอียดอ่อนตามไปด้วย หลายครั้งที่การแสดงออกผ่านการกด Like กดหัวใจใน IG Stories กลับแฝงไปด้วยความรู้สึกดี ๆ ที่มากกว่าแค่เพื่อนบนโลกออนไลน์ แต่เมื่อเราจับเข่าพูดคุยถึงเรื่องนี้กับพฤติกรรมเหล่านี้ คำตอบที่ได้จากคนรักก็คือ “แค่กดไลค์เพราะเป็นเพื่อน” หรือ “ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากดไลค์ไปตอนไหน” ที่ทำให้พฤติกรรมนอกใจถูกทำให้ดูเล็กน้อย และกลับทำให้ฝ่ายที่จับได้ดูเป็นคนที่ Overthinking เกินไปเสียอย่างนั้น
สาเหตุที่ทำให้ Micro-Cheating เกิดง่ายในยุคนี้
- อิทธิพลของสื่อและสังคมออนไลน์ เราเห็นคนแปลกหน้าได้ง่าย ทักทายกันง่าย สร้างปฏิสัมพันธ์ได้ไว และง่ายต่อการปกปิด
- อาศัยความคลุมเครือของเส้นแบ่งระหว่างการนอกใจและการเป็นคน friendly เป็นมิตร และการสร้างปฏิสัมพันธ์ทั่วไป
- เบื่อ ไม่พอใจในความสัมพันธ์ปัจจุบัน แต่ไม่อยากเลิกรา
- ต้องการความตื่นเต้นใหม่ ๆ เพื่อให้หลุดจากความรู้สึกเดิม ๆ กับความสัมพันธ์ที่มีอยู่
-
แค่หยอด แค่หยอก ? พฤติกรรมแบบไหนที่เข้าข่าย Micro-Cheating
สำหรับเรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นประเด็นถกเถียงที่ความคิดเห็นของคนในสังคมยังหาจุดสรุปตายตัวไม่ได้ว่าต้องกระทำขนาดไหนถึงจะเรียกว่าเป็น “นอกใจ” แบบเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่อย่าลืมนะคะว่าก่อนที่คนเราจะรักกัน มีใจให้กัน ก็ล้วนแล้วแต่เริ่มมาจากความถูกใจเล็ก ๆ น้อย ๆ กันก่อนทั้งนั้น
และเมื่อเส้นแบ่งพฤติกรรมทำได้ยาก นักบำบัดด้านชีวิตสมรสและครอบครัวอย่าง Moraya Seeger DeGeare ได้ชวนสังเกตว่า หากเรากำลงไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำอยู่เรียกว่า Micro-Cheating หรือไม่ ให้ลองมองดูว่าคุณกำลังสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากคนรักอยู่หรือไม่ ? หากคนรักของคุณทำพฤติกรรมเหล่านี้เช่นกัน คุณจะรู้สึกอย่างไร ? หากคำตอบคือ “รู้สึกไม่สบายใจ” หรือไม่อยากให้คนรักของเราทำพฤติกรรมเหล่านั้น ก็นับว่าเป็นสัญญาณของ Micro-Cheating ได้เลย
บริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching จึงจะพาทุกคนมารู้จักกับ 5 พฤติกรรม ที่จัดว่าเป็น Micro-Cheating ที่ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์กันค่ะ
-
พฤติกรรมแสดงความสนใจผ่านโซเชียลมีเดีย
หยอก-หยอด เป็น Micro-Cheating ขั้นแรก ๆ ที่เราพบเจอกันได้บ่อย อย่างการกดไลค์ แสดงความคิดเห็น หรือส่งข้อความส่วนตัวไปยังคนที่สนใจผ่านโซเชียลมีเดีย โดยมีข้ออ้างสุดฮิตว่า “ก็แค่กดไลค์” หรือ “ก็แค่ส่งข้อความชื่นชม…ไม่ได้จะคุย” ซึ่งเป็นพฤติกรรมสะท้อนความต้องการอื่นที่นอกเหนือจากความสัมพันธ์ปัจจุบันที่ชัดเจน แต่มักถูกกลบฝังด้วยภาพเบลอๆ เส้นขอบเขตของคำว่า“ก็แค่ friendly” “แค่เป็นมิตร”
-
อ้างความ Friendly หรืออัธยาศัยดี (โดยไม่จำเป็น)
คือการเอาความอัธยาศัยดีมาสร้างความปกติให้กับบางพฤติกรรมนอกใจ เช่น การทักทายเพศตรงข้าม แสดงน้ำใจโดยอีกฝ่ายไม่ได้ร้องขอ รวมถึงการ DM หรือ Chat ไปหาคนอื่นด้วยความชอบส่วนตัว การ “ตีสนิท” ทั้งที่มีแฟนอยู่แล้ว ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรม Micro-Cheating ได้ทั้งหมด
-
แลก Contact กับคนอื่น หรือกดติดตามเพียงเพราะรู้สึกสนใจ
การแลก LINE แลก Facebook, IG หรือ กดติดตามเพราะมีความรู้สึกสนใจ ชอบใจส่วนตัว ไม่ว่าจะทางกายภาพหรือทางความรู้สึก นั่นถือเป็นพฤติกรรม Micro Cheating ที่ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ซับซ้อน สร้างความหึงหวงจนบานปลายในอนาคตได้
-
การออกเดท (โดยไม่เรียกว่าเดท) กับคนอื่น
หลายคนชอบอ้างว่า “กินข้าวกับเพื่อน” โดยที่เพื่อนนั้นเป็น “คนที่คุณสนใจ” และอยากใช้เวลาร่วมด้วย เช่น การนัดเจอทานข้าวกลางวันด้วยกัน นัดดื่มกาแฟช่วงบ่ายด้วยกัน ไปตีแบดฯ ด้วยกันหลังเลิกงาน ฯลฯ เป็นพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สร้างรอยร้าวให้ความสัมพันธ์ในระยะยาว
-
แอบใช้แอปพลิเคชันหาคู่…เพื่อแก้เบื่อ ?
ขั้นนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่ค่อนข้างรุนแรง เพราะจุดประสงค์ของการใช้แอปหาคู่นั้นชัดเจน คนที่มีแฟนอยู่แล้วแต่กลับมาหาคนคุยใหม่ ๆ ในแอปหาคู่ถือเป็นกลุ่มที่ตั้งใจนอกใจ เป็น Micro Cheating ขั้นสุดท้ายที่ทำให้ความสัมพันธ์จบลงได้ทันที
-
รับมืออย่างไร ถ้าแฟนมีพฤติกรรม Micro Cheating
หากพบว่าแฟนของเรามีพฤติกรรมที่เข้าข่าย Micro Cheating แม้ไม่ใช่การนอกใจแบบโจ่งแจ้ง แต่เป็นการกระทำที่สร้างความรู้สึกสับสน ไม่มั่นคงและเป็นตัวทำลายความเชื่อใจในความสัมพันธ์
สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์มีดังนี้ค่ะ
-
สังเกตพฤติกรรมเขาให้ชัดเจน
สังเกตพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แฟนทำตัวแปลกไปจากเดิม เช่น ใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเยอะขึ้นผิดปกติ แชทหรือข้อความที่คุยกับคนอื่นสนิทสนมเกินจำเป็น หรือมีการปกปิดการเข้าถึงข้อมูลบางอย่าง
-
สื่อสารอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา
หากมั่นใจว่าแฟนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจริง ๆ การพูดคุยด้วยเหตุผลเป็นสิ่งที่ควรทำ แม้จะยากที่จะเลี่ยงการใช้อารมณ์ แต่การพูดตรง ๆ ถึงปัญหาที่เรารับรู้ และสังเกตดูวิธีการตอบของแฟนจะทำให้เราประเมินสิ่งที่จะเกิดต่อไปในความสัมพันธ์ได้ชัดขึ้น
-
กำหนดขอบเขตในความสัมพันธ์
หากพูดคุยแล้วเข้าใจกัน สิ่งที่ควรทำต่อไปคือการกำหนดขอบเขตสิ่งที่เรายอมรับได้ และสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้ เช่น เราจะไม่ยอมรับกับการกดติดตาม หรือทักทายผู้หญิงคนอื่นบนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
-
ประเมินความสัมพันธ์
หากการพูดคุยไม่เป็นผล หรือคุยไปแล้วแต่แฟนไม่สามารถประพฤติตนอยู่ในขอบเขตได้ ขั้นสุดท้ายคือการตัดสินใจว่าเรายังต้องการความสัมพันธ์ครั้งนี้อยู่อยู่หรือไม่
-
ให้เวลากับตัวเอง
หากต้องจบความสัมพันธ์นี้จริงๆ การให้เวลากับตัวเองในการเยียวยาความรู้สึก ดูแลสุขภาพใจเป็นสิ่งที่เราควรทำ เช่น หางานอดิเรกทำ เข้าร่วม workshop ที่มีประโยชน์ เพื่อมองหาความสัมพันธ์ครั้งใหม่ที่จะไม่ทำร้ายจิตใจของเรา