New Gen ตกหลุมรักที่ความคิด กับ “ทฤษฎี 36 คำถาม เพื่อการตกหลุมรัก” เครื่องมือที่จะช่วยคนเจนใหม่ได้พบคนตรงใจ ภายใน 45 นาที

SHARE

36 คำถามสู่รัก บริษัทจัดหาคู่

New Gen ตกหลุมรักที่ความคิด กับ “ทฤษฎี 36 คำถาม เพื่อการตกหลุมรัก” เครื่องมือที่จะช่วยคนเจนใหม่ได้พบคนตรงใจ ภายใน 45 นาที

 

          จากการสำรวจคนยุคใหม่ หรือ New Gen ซึ่งในที่นี้ หมายถึงคน Gen Z ที่มีช่วงอายุน้อยกว่า 25 ปีลงไป กำลังมีแนวโน้มที่จะเลือกออกเดท และตกหลุมรักกับคนที่มี “ความคิด” และ “ทัศนคติ” ที่ตรงกัน มากกว่าการออกเดท หรือฝืนคุยกับคนที่ไม่รู้ความคิดจิตใจมาก่อน เพราะว่าการได้รู้ถึงความคิด มุมมองของอีกฝ่าย ทำให้สามารถมองเห็นอนาคตคร่าว ๆ ขึ้นมาได้อย่างชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร หากเลือกออกเดท และใช้ชีวิตคู่กับคนนี้ต่อไปในระยะยาว

 

และจากผลสำรวจจากบริการจัดหาคู่ ของบริษัทจัดหาคู่ ระดับพรีเมี่ยม Bangkok Matching เอง เกี่ยวกับแนวทางการเลือกคู่เดท คู่ชีวิต ของคนไทย และต่างชาติ พบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิงทุกช่วงวัย ต่างมีแนวคิดว่า การเลือกคู่เพื่อคบหาจริงจังนั้น ค่านิยม ความคิด ทัศนคติ เป็นความสำคัญอันดับต้น ทั้งนั้น ตามมาด้วย บุคลิกภาพ รูปลักษณ์ภายนอก ฐานะ การงาน เป็นตัวเลือกลดหลั่นลงมา จึงเป็นเรื่องที่ยืนยันได้ชัดอีกระดับว่า ค่านิยม ความคิด ทัศนคติ เป็นสิ่งสำคัญในการเลือกคู่จริงๆ 

 

หรือพูดง่าย ๆ ว่า “ต่อให้หน้าตาดีถูกใจ แต่ทัศนคติไปด้วยกันไม่ได้ ก็จะไม่ฝืน””

 

ด้วยแนวคิดประการนี้ จึงทำให้ปัจจุบัน เราจึงได้เห็นกระทั่งแอปหาคู่ออนไลน์หลายเจ้าที่รีบปรับตัวตามความต้องการของคนเจนใหม่ ด้วยการชูโรงฟีเจอร์การหาคู่เดทจากทัศนคติ เพิ่มจากการสร้างโปรไฟล์ออนไลน์ ที่ไม่สามารถวัดทัศนคติได้ชัดเจน เท่ากับการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันจริงๆ  ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องบ่งชี้ว่า การเดทจากการดูเพียงรูปลักษณ์ภายนอกกำลังหมดไปจากสังคมยุคใหม่ และโลกกำลังถูกแทนที่ด้วยค่านิยมการหาคู่ โดยพิจารณาจาก “ทัศนคติ” และ “ความคิด” ที่เป็นตัวของตัวเองแบบจริง ๆ 

 

บริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching จึงอยากแนะนำ “ทฤษฎี 36 คำถาม เพื่อการตกหลุมรัก (36 questions to fall in love) ซึ่งเป็นทฤษฏีที่สร้างมาจากการทดลอง ในปี 1997 ของสองนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อดัง Arthur Aron และ Elaine Aron สองสามีภรรยาผู้ทุ่มเทเวลากว่าค่อนทศวรรษเพื่อทำการศึกษาเรื่องแรงดึงดูด การตกหลุมรัก และรูปแบบการก่อตัวของโรแมนติค

 

36 คำถามสู่รัก บริษัทจัดหาคู่
36 คำถามสู่รัก บริษัทจัดหาคู่

 

รู้จัก “ทฤษฎี 36 คำถาม เพื่อการตกหลุมรัก”  (36 questions to fall in love)

 

ทฤษฎี 36 คำถามเพื่อการตกหลุมรัก คืออะไร?

 

ทฤษฎี 36 คำถามเพื่อการตกหลุมรัก คือชุดคำถาม 3 ชุด ที่ให้คุณและคู่เดทผลัดกันถามและตอบ แบ่งออกเป็นชุดละ 12 ข้อคำถาม ความลึกซึ้งของคำถามจะเพิ่มขึ้นตามลำดับชุด โดยเป็นคำถามสำหรับนำมาใช้เป็นการสนทนาระหว่างคุณกับคู่เดท ทั้งหมดจะเป็นคำถามที่สามารถสะท้อนทัศนคติ การมองโลก ความคิด การตัดสินใจ รวมถึงบุคลิกส่วนตัวของอีกฝ่ายออกมาได้อย่างชัดเจนภายในระยะเวลาเพียง 30-45 นาทีเท่านั้น เรียกได้ว่า เป็นการ “ย่นเวลาการเดท” เพื่อทำความรู้จักที่ยาวนานให้จบลงใน 45 นาทีได้อย่างน่ามหัศจรรย์

 

ทฤษฎี 36 คำถาม เพื่อการตกหลุมรัก เกิดขึ้นจากอะไร?

 

ผลงานทฤษฎี 36 คำถาม เพื่อการตกหลุมรัก ได้เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1997 โดยเป็นผลจากการทดลองของนักจิตวิทยาชื่อดัง Arthur Aron และ Elaine Aron สองสามีภรรยา ในการทดลองนี้พวกเขาได้ทำการทดลองโดยการนำคนแปลกหน้าหลาย ๆ คนมาจับคู่กันและใช้ชุดคำถาม 36 ข้อในการแลกเปลี่ยนพูดคุย เพื่อดูว่าชุดคำถามเหล่านี้จะส่งผลหรือกระตุ้นให้แต่ละคู่มีความรู้สึกอย่างไร 

 

ซึ่งในท้ายการทดลองนี้ พบว่า คู่ที่ทำการทดลองด้วยคำถาม 36 ข้อนี้ มีความรู้สึกสนิทและใกล้ชิดกันเพิ่มมากขึ้นกว่าคู่ที่ใช้ชุดคำถามแบบผิวเผิน เพราะพวกเขารู้สึกว่าได้แชร์ความคิด ความรู้สึก และทัศนคติที่ลึกซึ้งต่อกัน เป็นเหมือนการเปิดใจและเปิดเผยตัวตนในระดับจิตวิญญาณของกันและกัน

 

กระทั่งการวิจัยเรื่องทฤษฎี 36 คำถามได้ถูกนำไปตีพิมพ์ลงใน  New York Times  ช่วงปี 2015 จนกลายเป็นที่นิยมแพร่หลาย เพราะผลการทดลองที่ชี้ให้เห็นว่าคำถามเหล่านี้สามารถทำให้คนแปลกหน้า 2 คน ที่มาจับคู่แลกเปลี่ยนคำถามกันในห้องทดลอง รู้สึกสนิทสนมและมีแนวโน้มที่ตกหลุมรักกันได้ในระยะเวลาเพียงไม่เกิน 45 นาที หลังจากร่วมแชร์คำถามและคำตอบเหล่านี้ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นกระแสไวรัลไปทั่วโลก

 

การทดลองใช้ทฤษฎี 36 คำถาม ให้ผลลัพธ์อย่างไร ?

 

แม้ว่าการทดลองใช้ทฤษฏี 36 คำถามในปีค.ศ 1997 จะถูกรายงานผ่านบทความ “36 QUESTIONS FOR INCREASING CLOSENESS” จาก Stony Brook University ว่าผลการศึกษาในครั้งนั้น แม้ไม่มีการระบุจำนวนข้อมูลประชากรที่เข้าร่วมการทดลองแบบแน่นอนไว้ แต่ก็ได้มีผู้ศึกษาด้านจิตวิทยาหลาย ๆ คนที่นำเอาทฤษฎีนี้ไปทดลอง และค้นพบว่ามันสามารถ “เพิ่มความรู้สึกสนิทสนม” และ “ใกล้ชิด” อีกทั้งยังลดการมีอคติต่อการให้ความสำคัญเพียงแค่รูปลักษณ์ได้อย่างชัดเจน และทฤษฎี 36 คำถามนี้ ไม่ใช่ใช้ได้เฉพาะในด้านการหาคู่ เลือกคู่เท่านั้น แต่ยังนำไปใช้ในด้านการเชื่อมความสัมพันธ์ต่างๆ ได้อย่างดีด้วยเช่นกัน 

 

ยกตัวอย่างการทดลองที่น่าสนใจเมื่อช่วงปี 2015 จากชาแนล AsapSCIENCE tested ที่ต้องการทดสอบเกี่ยวกับทฤษฎี 36 คำถามนี้ โดยรายการได้เชิญ “เอมิลี” และ “เคม” คนแปลกหน้าหญิงชายคู่หนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนมาร่วมเป็นผู้ทดลอง เพื่อทดสอบว่าคำถามเหล่านี้จะทำให้คนแปลกหน้าโดยสิ้นเชิงตกหลุมรักกันได้จริง ๆ หรือไม่

 

การทดสอบเป็นไปตามขั้นตอน เริ่มจากให้ทั้งสองนั่งตรงข้ามกันและผลัดกันถามคำถามไปเรื่อย ๆ บรรยากาศเข้มข้นขึ้นตามระดับของชุดคำถาม พวกเขายอมรับว่าระหว่างพูดคุย ได้เริ่มค้นพบความน่าสนใจของฝ่ายตรงข้ามมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละคำถามคำตอบ ก่อนที่คำถามสุดท้ายจะจบลง ทั้งคู่สบตากันภายใต้ความเงียบราว 4 นาที  และเมื่อสิ้นสุดเวลาแห่งการสบตา ทั้งสองคนที่เข้ารับการทดลองได้ลงความเห็นตรงกันว่า พวกเขารู้สึกดีที่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง ทัศนคติแบบลึกซึ้งระหว่างกันผ่านคำถาม 36 ข้อนี้ และยอมรับว่ามีแนวโน้มสูงที่จะสานสัมพันธ์ต่อไป หรือนัดเจอกันอีกครั้งหลังจากการทดสอบครั้งนี้จบลง

 

หรืออีกกรณีตัวอย่างมาจากคอลัมนิสต์ชื่อดังอย่าง Mandy Len Catron เจ้าของคอลัมน์ “Modern Love” ประจำนิตยสาร New York Times ที่เผยว่าตัวเธอเองก็ได้ทดลองทฤษฎีนี้ด้วยตัวเองมาแล้วด้วยตัวเอง และผลลัพธ์ที่ได้คือ ชุดคำถาม 36 ข้อจากการวิจัยนี้ สามารถทำให้เธอและคนแปลกหน้าในตอนนั้น พัฒนาความสัมพันธ์มาเป็นคู่กันได้จริง จนต้องหยิบเอาทฤษฎี 36 คำถามนี้มาตีแผ่ลงคอลัมน์ของเธอภายใต้ชื่อ To Fall In Love With Anyone, Do This ส่งผลให้ทฤษฎีนี้ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นไปอีก 

 

ทำไมทฤษฎี 36 คำถามจึงตอบโจทย์ในปัจจุบัน

 

ถึงแม้ชุดคำถาม 36 ข้อจะถูกคิดขึ้นมานานเป็นเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีคนนิยมใช้ และยังใช้ได้ผลดีอีกด้วย เพราะในปัจจุบัน ชีวิตที่รีบเร่งทำให้ผู้คนไม่มีเวลามากมายที่จะทุ่มเทให้กับการออกเดทเพื่อทำความรู้จักคน ๆ หนึ่ง เป็นระยะเวลานานหลายเดือน หลายปี โดยไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าในอนาคต จะเข้ากันได้ในเรื่องของมุมมอง ทัศนคติ ความคิดต่าง ๆ หรือไม่ ถ้าหากว่าลองออกเดทร่วมกันไปหลายครั้ง แต่สุดท้ายกลับมีความคิด ทัศนคติที่ไปด้วยกันไม่ได้ ก็แน่นอนว่า เป็นการเสียเวลา เสียความรู้สึก และสิ้นเปลืองเงินทองไปกับความสัมพันธ์ที่ดูจะไปกันคนละทาง

 

และอีกหนึ่งความมั่นใจว่าทฤษฎี 36 คำถามนี้จะตอบโจทย์กับคนเจนใหม่ได้จริง ๆ ก็เนื่องมาจากจากผลสำรวจของ Future of Dating Report 2023 ที่สำรวจเกี่ยวกับเทรนด์การมองหาคู่เดทของคนเจนใหม่ ที่ทำให้เห็นได้ว่า ทฤษฎี 36 คำถาม เพื่อการตกหลุมรัก จะสามารถนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์การเดทของคนเจนใหม่ แทนการออกเดทและถามคำถามผิวเผินทั่วไปในชีวิตประจำวันได้อย่างแน่นอน

 

  • คนเจนใหม่จะเน้นการทำความรู้จักเจาะลึกถึง “ตัวตน” และชอบที่จะให้แสดง “ความเป็นตัวเอง” ออกมา มากกว่าการรู้จักแบบสร้างภาพ วางมาด ฉาบฉวย
  • คนเจนใหม่มากถึง 75% เผยว่าถ้าคู่เดทมีแนวคิดจิตใจที่ดีจะดึงดูดใจได้มากขึ้น
  • คนเจนใหม่ไม่ชอบการเสียเวลาอันมีค่าของตัวเองไปกับคนที่ไม่ใช่

 

ทั้งในประเทศไทยเองก็เคยมีการทดลองแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนัก โดยได้มีผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งได้ออกมาเขียนบล็อกส่วนตัวเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์ของการทดลองเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559 โดยผู้เขียนได้เล่าถึงการเข้าร่วมการทดลองที่นำ “ทฤษฎี 36 คำถาม” มาเป็นแกนหลักในการทดลองสร้างความรู้สึกสนิทสนม และชี้ให้เห็นว่าเมื่อจบการทดลองแล้วเธอมีความรู้สึกว่าได้สนิทและรู้จักกับกับอีกฝ่ายมากขึ้นจริง เพราะการถามตอบทำให้รู้สึกมีจุดร่วมในการพูดคุย ทำให้คุยกันได้อย่างต่อเนื่องมีอรรถรส และรู้สึกเหมือนว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนแปลกแยกอย่างที่คิดในตอนแรก 

 

ดังนั้น บริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching เห็นว่า ทฤษฎี 36 คำถามจะสามารถเข้ามาเป็นตัวช่วยที่จะทำให้คนตกหลุมรักกันไวขึ้นได้ จึงอยากแนะนำทฤษฎี 36 คำถามนี้ไว้ให้เป็นตัวเลือกที่ช่วย “ตอบโจทย์ความต้องการ” ของคนเจนใหม่หาคู่ในปัจจุบัน

 

ทฤษฎี 36 คำถาม มีคำถามอะไรบ้าง ?

 

เรามาเริ่มกันที่ ชุดคำถามแรก ที่จะแสดงให้เห็นถึงความคิดของคู่เดทว่าคนนี้จะใช่คนที่คุณตามหาหรือไม่

 

  1. ถ้าให้เลือกใครก็ได้หนึ่งคนในโลกนี้มาเป็นแขกร่วมรับประทานอาหารค่ำ คุณจะเลือกใคร
  2. คุณอยากมีชื่อเสียงไหม และในด้านไหน
  3. ก่อนที่จะต่อสายหาใครสักคน คุณเคยซ้อมคำพูดของตัวเอง ก่อนอีกฝ่ายจะรับสายไหม
  4. “วันที่สมบูรณ์แบบ” สำหรับคุณ คือวันแบบไหน
  5. คุณร้องเพลงให้ตัวเองครั้งสุดท้ายตอนไหน และร้องเพลงให้คนอื่นฟังล่ะ เมื่อไหร่
  6. ถ้าคุณมีอายุอยู่ได้ถึง 90 ปี คุณจะเลือกรักษาสิ่งใดไว้ ระหว่างจิตใจ หรือ ร่างกายที่เทียบเท่ากับคนอายุ 30 ปี เพื่อใช้ชีวิต 60 ปีที่เหลืออยู่
  7. คุณเคยคาดเดาถึงวิธีการเสียชีวิตของตัวเองบ้างไหม
  8. จงบอก 3 สิ่งที่คุณคิดว่าระหว่างเรา (คู่เดทและคุณ) มีสิ่งนี้เหมือนกัน
  9. อะไรในชีวิตที่คุณรู้สึกขอบคุณมากที่สุด?
  10. ถ้าคุณเปลี่ยนวิธีที่คุณถูกเลี้ยงให้เติบโตขึ้นมาได้ คุณอยากเปลี่ยนแปลงอะไร
  11. จับเวลา 4 นาที และเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  12. ถ้าหากตื่นขึ้นมาพรุ่งนี้ คุณมีความสามารถ หรืออำนาจพิเศษอะไรก็ได้ คุณจะเลือกมีอะไร

 

เป็นยังไงกันบ้างกับชุดแรก รู้สึกท้าทายแล้วใช่ไหม งั้นมาต่อกันด้วย คำถามชุดที่

 

  1. ถ้ามีลูกแก้ววิเศษสามารถบอกความจริงบางอย่างเกี่ยวกับตัวคุณ ชีวิต อนาคต หรือ เรื่องอื่น ๆ คุณจะอยากรู้อะไร
  2. มีอะไรที่คุณฝันอยากจะทำมานานแล้วไหม แล้วทำไมคุณถึงยังไม่ได้ทำมัน
  3. อะไรคือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของคุณ
  4. คุณให้คุณค่าความเป็นเพื่อนที่สุดตรงไหน
  5. ความทรงจำที่มีค่าที่สุดของคุณคืออะไร
  6. ความทรงจำที่แย่ที่สุดของคุณคืออะไร
  7. ถ้ารู้ตัวว่ากำลังจะตายภายใน 1 ปี คุณจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบปัจจุบันนี้หรือไม่ เพราะอะไร
  8. คำว่ามิตรภาพสำหรับคุณหมายความว่าอะไร
  9. ความรักและอารมณ์เสน่หามีบทบาทต่อชีวิตคุณอย่างไร
  10. ผลัดกันพูด 5 สิ่งที่ดีเกี่ยวกับคู่เดทของคุณ
  11. ครอบครัวของคุณมีความสนิทและอบอุ่นมากแค่ไหน คุณรู้สึกว่าชีวิตวัยเด็กของคุณมีความสุขมากกว่าของคนอื่นไหม
  12. คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณและแม่ของคุณ

 

จบชุดที่ 2 ไป พักหายใจหายคอจิบกาแฟกับคู่เดทให้บรรยากาศผ่อนคลายสักนิด จากนั้นก็มาปิดท้ายทฤษฎีนี้ให้ครบ 36 ข้อ ด้วย คำถามชุดที่ 3 กันเลย

 

  1. ให้พูด 3 ประโยคที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณและคู่เดท โดยให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า “เรา” ยกตัวอย่างเช่น เราทั้งคู่อยู่ในห้องนี้รู้สึก….
  2. จงเติมประโยคนี้ให้ครบ > “ฉันหวังที่จะมีใครสักคนที่ฉันสามารถแบ่งปันเรื่อง…”
  3. ถ้าคุณเป็นเพื่อนสนิทกับคู่เดท เรื่องสำคัญอะไรที่เขาหรือเธอควรจะได้รู้เกี่ยวกับคุณ
  4. บอกคู่เดทเกี่ยวกับสิ่งที่คุณชอบในตัวเขา (ขอให้พูดด้วยความจริงใจที่สุด โดยให้พูดสิ่งที่ไม่ใช่คนเพิ่งเจอกันมักจะพูด)
  5. แบ่งปันประสบการณ์ที่น่าอายที่สุดในชีวิตของคุณให้อีกฝ่ายฟังหน่อยสิ
  6. ครั้งสุดท้ายที่คุณร้องไห้ต่อหน้าคนอื่นคือเมื่อไหร่ แล้วร้องคนเดียวล่ะ
  7. บอกคู่เดทว่ามีอะไรบ้างเกี่ยวกับเขาที่คุณชอบ
  8. เรื่องจริงจังไหน หรือสิ่งใด สำหรับคุณที่ไม่ควรจะเอามาพูดเป็นเรื่องตลก
  9. ถ้าคุณจะต้องตายภายในเย็นนี้ โดยไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับใครอีก มีเรื่องอะไรที่คุณจะรู้สึกเสียใจที่ยังไม่ได้บอกไหม แล้วทำไมคุณถึงยังไม่บอกล่ะ
  10. ถ้าเกิดไฟไหม้บ้าน ที่มีทรัพย์สินทั้งหมดในชีวิตของคุณอยู่ หลังจากช่วยเหลือคนที่คุณรัก และสัตว์เลี้ยงออกมาได้แล้ว ถ้าคุณสามารถเข้าไปหยิบได้อีก 1 สิ่ง อย่างปลอดภัย สิ่งนั้นคืออะไร และ ทำไมถึงเลือกสิ่งนี้
  11. จากคนในครอบครัวทั้งหมดของคุณ การเสียชีวิตของใครที่จะส่งผลกระทบต่อคุณมากที่สุด และเพราะอะไร
  12. แชร์ปัญหาส่วนตัวสักเรื่องให้กับคู่เดทของคุณฟัง และขอคำแนะนำว่าหากเขาเป็นคุณ เขาจะเลือกรับมือกับปัญหานี้อย่างไร และขอให้คู่เดทบอกคุณด้วยว่า เขารู้สึกว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับปัญหาที่คุณเลือกมาแชร์นี้

 

เมื่อถามคำถามทั้งหมดจบแล้ว มีทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ เสริมอีกหน่อย ก็คือ ให้คุณและคู่เดทนั่ง มองตากันต่อไปเป็นเวลา 4 นาที โดยไม่ต้องพูดอะไรออกมา ภายในเวลาแห่งความเงียบนั้นคุณจะรู้ตัวแล้วว่าคู่เดทตรงหน้านี้ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” คนที่คุณกำลังตามหา 

 

และนี่ก็คือ ทฤษฎี 36 คำถาม ที่ช่วยให้คนตกหลุมรักกันได้ภายในเดทแรก หรือเพียงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 45 นาที จะเห็นได้ว่าในคำถามแทบทุกข้อมีความลึก และการวัดความคิด ทัศนคติที่มีต่อทั้งตนเอง ครอบครัว คู่เดท และการมองโลกอย่างครอบคลุม จึงไม่น่าแปลกใจที่ทฤษฎี 36 คำถาม เป็นที่นิยมและกล่าวถึงไปทั่วโลก

 

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ทฤษฎี 36 คำถามกับคู่เดทมีอะไรบ้าง ?

 

แน่นอนว่าการนำทฤษฎีนี้มาใช้ นอกจากข้อดีแล้วก็อาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างเช่นเดียวกัน

 

ข้อดีของทฤษฎี 36 คำถาม

 

  1. ช่วยสร้างความรู้สึกสนิทให้เกิดขึ้นเร็วมากขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ

 

ตามลักษณะนิสัยของชาวเจนใหม่มักไม่อยากเสียเวลาไปกับการทำความรู้จักแบบลองเชิง หรือวางภาพลักษณ์ที่ดีต่อกันมากเกินไป การเป็นตัวของตัวเองและแชร์ความคิดช่วยให้รู้จักนิสัยใจคอกันได้ดีขึ้น อีกทั้งการออเดทในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายที่สูง และเปลืองความรู้สึก ทำให้คนเจนใหม่ ไม่ต้องการการออกเดทหลาย ๆ ครั้งด้วย

 

  1. การสื่อสารแบบเปิดเผยความเป็นตัวเองทำให้คู่เดทเกิดความไว้วางใจมากกว่า

 

อย่างที่กล่าวไปในข้อแรก หมดเวลาวางมาดใส่กันแล้วในยุคของคน Gen Z  การเปิดใจและเปิดเผยตัวตนเท่านั้นที่ทำให้เกิดความเชื่อใจและวางใจ ดังนั้นการนำทฤษฎี 36 คำถามมาใช้ สามารถเป็นตัวช่วยที่ดีในการสร้างความผูกพันระดับลึก และสร้างความไว้วางใจกันและกันได้ในเวลารวดเร็วระหว่างคุณกับคู่เดท

 

  1. เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการประเมินความเข้ากันได้ในเรื่องของแนวคิด ทัศนคติ และการมองโลก

 

เพราะความคิดเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน หากถามไม่ตรงจุดหรือใช้คำถามที่ตรง ๆ ทื่อ ๆ เกินไป อาจสร้างความไม่ประทับใจได้ และเมื่อเกิดความไม่ประทับใจต่อกัน ต่อให้ความคิดทัศนคติดีแค่ไหนก็ยากที่จะสานต่อได้ ดังนั้นการนำทฤษฎีนี้มาใช้ก็นับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และมีคำถามที่ผ่านการทดลองมาแล้วว่าจะไม่ส่งความรู้สึกด้านลบให้กับผู้ตอบจนมากเกินไป ทำให้สามารถประเมินความคิดและทัศนคติของคู่เดทได้อย่างดีเยี่ยม

 

ข้อจำกัดของทฤษฎี 36 คำถาม

 

  1. คู่เดทบางคนอาจไม่ชอบการใช้วิธีถามตอบแบบนี้ เพราะรู้สึกถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัวมากเกินไป และเร็วเกินไป
  2. ความลื่นไหลของบทสนทนาอาจขาดช่วง กระอักกระอ่วนเมื่อต้องถามคำถามที่ยากขึ้นกับคนที่เพิ่งได้พบ
  3. สถานการณ์ในการสนทนาอาจเกิดความตึงเครียด ต้องควบคุมบรรยากาศอย่างระมัดระวัง

 

ดังนั้นในการเลือกใช้ทฤษฎี 36 คำถามกับคู่เดทเพื่อให้เข้าใจทัศนคติ ความคิด ก็จะต้องถามอย่างระมัดระวัง และควบคุมบรรยากาศในการพูดคุยให้ไม่เข้าสู่การตึงเครียดจนเกินไปด้วยเพื่อให้ทฤษฎีประสบความสำเร็จ 

 

แต่ถ้าการถามคำถามจำนวนมากข้อเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก และสร้างความตึงเครียดกับคุณมากเกินไป บริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching มีบริการจัดหาคู่เดทแบบพรีเมี่ยม สามารถจัดหาคู่เดทที่แมทช์กับคุณได้ตามสเปคในใจที่คุณต้องการ เพราะเรามีข้อมูลโปรไฟล์ พร้อมคัดสรรคู่เดทคุณภาพและสร้างเดทในฝันให้กับคุณได้พึงพอใจมากที่สุด! มาค้นพบประสบการณ์เดทที่ดีที่สุดกับเราที่ บริษัทจัดหาคู่ ระดับไฮเอนด์ Bangkok Matching ได้ตอนนี้เลย

 

อ้างอิง

  1. https://www.abc.net.au/triplej/programs/hack/the-36-questions-that-lead-to-love/8387736 
  2. https://ornsmith.com/36-questions-bring-love-experience-sharing/ 
  3. https://www.tinderpressroom.com/2023-05-22-WELCOME-TO-A-RENAISSANCE-IN-DATING,-DRIVEN-BY-AUTHENTICITY
  4. https://www.mindbodygreen.com/articles/36-questions-to-fall-in-love
  5. https://ggia.berkeley.edu/index.php/practice/36_questions_for_increasing_closeness
  6. https://www.businessinsider.com/asapscience-youtube-36-questions-love-2015-12

 

 

[seed_social]

Top