แม่สื่อเอาบทความคนโสดหาคู่มาฝาก ใครๆ ก็อยากมีบ้านสวยๆ หลังใหญ่ๆ บริเวณกว้างขวาง แวดล้อมไปด้วยเพื่อนบ้านที่ดีกันทั้งนั้น

SHARE

Article about Dating and Mating in Thai Society: The Problem Singles and Government is Facing

แม่สื่อเอาบทความเรื่องความโสดของคนโสดในประเทศไทยมาฝากค่ะ

แม่สื่ออยากจะให้คนโสดชายหญิงหาคู่ชั่งใจให้ดีๆว่า อะไรที่เป็นสิ่งจำเป็นในตัวคู่ครองของเรา ที่เขาจะต้องมี 

ไม่เช่นนั้น ใครก็อยากมีบ้านสวยๆ หลังใหญ่ๆ บริเวณกว้างขวาง แวดล้อมไปด้วยเพื่อนบ้านที่ดีกันทั้งนั้น ไม่ว่าตนเองจะมีรายได้เท่าไหร่ก็ตาม 

——————————-  

เมื่อ ความโสด” ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ! หากไม่เตรียมพร้อมให้ดี พังทั้ง คน” และ รัฐ 

หมายเหตุบทความจากมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2560
โดย พิชญ์เดช แสงแก่นเพ็ชร์

127176  รูปภาพคู่รักนอนกอดกัน หาคู่ หาคู่คนไทย หาคู่ต่างชาติ โดยบริษัทจัดหาคู่ BangkokMatching.com

คนไทยมีแนวโน้มเป็นโสดเพิ่มขึ้นทั้งชายและหญิง!! นี่คือเรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ หากดูตัวเลขจากสำมะโนประชากร พ.ศ.2513 เรื่อยมาถึง พ.ศ.2553
ถ้าเราแยกดูเป็นประชากรชายและหญิง เฉพาะผู้หญิงโสดที่อายุ 45 ปีขึ้นไป (ซึ่งมีแนวโน้มที่จะไม่แต่งงานแล้ว) ผลสำรวจบอกชัดว่ากลุ่มนี้เมื่อปี พ.ศ.2513 มีตัวเลขอยู่ที่ 4.6% หรือกล่าวได้ว่าในรุ่นนี้เกือบทั้งหมดมีการแต่งงานและยังให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว
หลังจากนั้นมา สัดส่วนคนที่อยู่เป็นโสดกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2553 หญิงโสด+ไม่แต่งงานในวัยดังกล่าว ขยับมาอยู่ที่เกือบ 9% หรือเพิ่มขึ้นมาหนึ่งเท่าตัว
ส่วนเพศชาย ก็อยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ จากปี 2513 มีผู้ชายวัย 45 ปีขึ้นไป 8% ที่ยังไม่แต่งงาน แต่ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของผู้ชายอายุ 35-39 ปี เลือกที่จะไม่มีครอบครัว
แม้ข้อเท็จจริงเช่นนี้อาจนำไปสู่ข้อสรุปแบบฟันธงไม่ได้ว่าชายเหล่านั้นจะไม่แต่งงาน แต่ก็มีแนวโน้มว่าการแต่งงานจะถูกยืดออกไป จนถึงไม่แต่ง
ผศ.ดร.วิราภรณ์ โพธิศิริ อาจารย์ประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการสำรวจและลงพื้นที่สอบถามความเห็น ทั้งในแง่เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผ่านการพูดคุยสนทนาเชิงลึก

ในกลุ่มผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อเราถามว่าทำไมถึงไม่แต่งงาน? คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่คือ “ยังไม่เจอคนที่ใช่”
น่าสนใจว่า เมื่อถามลึกลงไปว่าคนที่ใช่มีหน้าตาลักษณะเป็นอย่างไร?
คำตอบที่เซอร์ไพรส์ คือ ทุกคนจะบอกเหมือนกันหมดว่าอยากแต่งงานกับคนที่มีอายุมากกว่า ไม่ว่าคนที่ให้สัมภาษณ์จะมีอายุกี่ปีก็ตาม

สะท้อนว่าผู้ชายที่อายุมากอาจมีความพร้อมมากกว่า ทั้งด้านอายุ ระดับการศึกษา และฐานะทางเศรษฐกิจ
นอกจากเรื่องที่เขาไม่เจอคนที่ใช่แล้ว จากการสำรวจพบว่า “การตัดสินใจ” ของคนกลุ่มเหล่านี้ ว่าจะอยู่เป็นโสดหรือไม่ มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ โดยจะชั่งน้ำหนักแล้วว่าข้อดี-ข้อเสียของการแต่งงานคืออะไร

ต่างจากสมัยก่อนที่เกือบทุกคน “ต้อง” แต่งงาน แต่ปัจจุบันการอยู่เป็นโสดคือ “ทางเลือกของเขา” ไม่ใช่โชคชะตาของเขาที่ไม่ถูกเลือก เพราะผลวิจัยระบุชัดว่า “เขาเลือกเองว่าจะอยู่เป็นโสด”
สุดท้ายจึงขึ้นอยู่กับสังคมว่าจะมีอคติต่อผู้ที่ไม่แต่งงานหรือไม่ ทั้งที่สาเหตุหลักอีกส่วนหนึ่งของผู้หญิงที่ไม่แต่งงาน คือการต้องอยู่ดูแลพ่อแม่วัยชรา
และสังคมไทยเราก็ให้คุณค่าในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุ

มื่อเจาะลึกไปถึงทัศนคติของกลุ่มคนโสด จากการสำรวจลึกๆ พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้จะคิดว่าการแต่งงานต้องไม่ทำให้พวกเขาตกอยู่ในความยากลำบากมากกว่าเดิม
เช่นตอนนี้ มีความสะดวกสบายอยู่ระดับหนึ่ง เขามีความพึงพอใจและความสุขในชีวิตแล้ว หากจะมีการแต่งงาน ต้องทำให้เขาเกิด “ความมั่นใจ” ได้ว่า เขาจะ “ไม่มีความสุขที่ลดลง”
ที่สำคัญยุคนี้สังคมเปลี่ยนไปแล้ว ผู้ชายกับผู้หญิงเท่าเทียมกัน ทั้งในระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้น พวกเขาย่อมไม่รู้สึกกดดันว่าจะต้องมีใคร
แต่หากมีความกดดัน ก็มักไม่ได้เกิดจากภายใน แต่เกิดจากคนรอบข้าง เช่น สมาชิกครอบครัวที่เป็นอีกเจเนอเรชั่นหนึ่ง เพราะคนรุ่นนั้นเกือบทั้งหมดต้องแต่งงาน เนื่องจากเมื่อก่อน การแต่งงานคือการฝากชีวิตผู้หญิงไว้ให้ผู้ชายดูแล
การเตรียมตัวของคนที่ตั้งใจจะใช้ชีวิตโสดเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ จากการสอบถามข้อมูลพบว่ากลุ่มคนโสดมีมุมมองว่าพวกตนต้องเตรียมการเรื่องต่างๆ ในชีวิตค่อนข้างเยอะกว่าคู่แต่งงาน
เพราะถ้าแต่งงาน ก็อาจจะมีลูกคอยดูแล มีสิทธิประโยชน์คู่สมรส มีการแชร์ส่วนแบ่งต่างๆ อะไรมากมาย แต่กรณีอยู่ตัวคนเดียว แน่นอนว่าจะไม่มีลูก เพราะฉะนั้น ต่อไป รัฐเองก็อาจต้องเข้ามามีส่วนช่วยในการเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ
ที่ผ่านมารัฐบาลก็ให้ความสำคัญต่อประเด็นนี้อยู่มาก ดังปรากฏอยู่ในแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่สอง ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ต้องเตรียมคนกลุ่มอายุ 15-59 ปี ให้มีความพร้อมในการจะเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ
ฉะนั้น กลุ่มคนโสดที่ตัดสินใจแล้วว่าจะขออยู่เป็นโสดตลอดไป เขาต้องเตรียมการหลายประเด็น มีทั้งเรื่องเงินสะสม เงินออม เรื่องสุขภาพ เรื่องความเป็นอยู่ในภายภาคหน้า ว่าจะอยู่อย่างไร
เช่น จะกลับไปอยู่กับครอบครัวของพี่น้องที่แต่งงานแล้วหรือไม่ แล้วจะไปอยู่ได้ไหม หรือจะอยู่กับเพื่อนหรือจะอยู่เองคนเดียว หากอยู่คนเดียว ใครจะดูแล จะต้องจ้างคนมาดูแลหรือไม่ หรือจะเช็กอินตัวเองไปเนิร์สซิ่งโฮมหรือเปล่า ข้อนี้ก็สำคัญ
เรื่องสำคัญอีกอย่างคือเรื่องของจิตใจ เพราะแน่นอนว่าเมื่ออยู่เป็นโสด ตอนวัยทำงาน คุณยังพอมีสังคม มีเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
แต่หากแก่ตัวไป จิตใจจะเป็นอย่างไร จะเข้าวัดเข้าวามากขึ้นหรือจะศึกษาธรรมะ หรือเตรียมกลุ่มเพื่อนไว้ว่าพอแก่ตัวไป จะอยู่ด้วยกันอย่างไร เรื่องเหล่านี้ต้องมีการวางแผน

พบว่าในคนโสด อายุ 30-59 ปี มีผู้ที่คิดและเตรียมการเรื่องชีวิตไว้แล้ว 30-50%
เมื่อเจาะไปว่าพวกเขาเตรียมการเรื่องอะไรมากที่สุด แน่นอน มีถึง 58% ที่เตรียมการเรื่องของเงินไว้แล้ว แต่ในทางกลับกัน ก็หมายความว่ามีอีกเกือบครึ่งที่ไม่ได้เตรียมพร้อมเรื่องนี้ ซึ่งนับว่าน่าเป็นห่วง
รองลงมาที่เตรียมตัวกันมากคือเรื่องสุขภาพ มีการออกกำลังกาย มีการปรับเปลี่ยนลักษณะการกินอาหาร เป็นต้น
ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น จะใช้ชีวิตอย่างไร ใครจะดูแลเรา หรือกระทั่งการเตรียมสภาพจิตใจ บางคนก็คิดแล้วว่าแก่ตัวไปจะทำงานชุมชน ทำเพื่อสาธารณประโยชน์มากขึ้น
อีกประเด็นสำคัญคือการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายผู้สูงอายุหรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าเกิดแก่ไปไม่มีคนดูแล จะต้องมีใครพิทักษ์สิทธิของเรา คนโสดถึง 70% ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องพวกนี้ มีแค่ประมาณ 28% ที่ได้คิดและเตรียมการไว้แล้ว
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่แต่งงานในช่วงอายุเดียวกัน กลุ่มหลังจะเตรียมการในประเด็นนี้พร้อมกว่า
นอกจากนี้ โครงสร้างและค่านิยมของสังคมไทยก็เปลี่ยนแปลงไปมาก จากเมื่อก่อน ที่พอคนแก่ตัวไป การเกื้อหนุนส่วนใหญ่จะตกเป็นภาระของครอบครัว ผู้สูงอายุจะอยู่กับลูก
แต่หากต่อไป จำนวนคนไม่มีครอบครัวไม่มีลูกเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายเบี้ยยังชีพ ซึ่งแม้รัฐบาลจะสนับสนุนมาโดยตลอด แต่ถ้าประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ การดำเนินนโยบายดังกล่าวก็จะยากขึ้นตามไปด้วย
เพราะใน พ.ศ.2580 สังคมไทยจะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด แปลว่ากลุ่มแรงงานก็จะลดลงตามไปด้วย หรือหมายความว่าคนที่จะมาทำหน้าที่สนับสนุนผู้สูงอายุย่อมมีจำนวนน้อยลง และจะส่งผลกระทบต่อปัญหาทางการคลังขึ้นมาทันที
รัฐจึงจะไม่สามารถให้สวัสดิการที่ดีพอสำหรับกลุ่มประชากรผู้สูงอายุได้ หากไม่มีการเตรียมแผนงานมารองรับ!
จะเห็นได้ว่าเรื่องของความโสดนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และจะมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างทางสังคมในภายภาคหน้า เมื่อสังคมไทยต้องเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มขั้นที่จะเกิดขึ้นอย่าง “รวดเร็ว” และ “รุนแรง”
โดยในมุมปัจเจกบุคคล คนที่คิดจะเป็นโสดควรต้องวางแผนให้ดีอย่างรอบด้าน ตั้งแต่วัยสามสิบปลายๆ เพื่อไม่ให้สายเกินไป
เพราะการจะหวังพึ่งพิงให้รัฐเข้ามาช่วยดูแล อาจเป็นสิ่งที่สุ่มเสี่ยงเกินไป เมื่อโครงสร้างประชากรและสังคมได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างชัดเจน และจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต 

ที่มา https://pantip.com/topic/37414205

 

 

[seed_social]

Top